top of page

หลักสูตร

ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ

         มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เปิดรับผู้สนใจเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ซึ่งมหาวิทยาลัยมีแผนการรับนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในสาขาวิชาต่างๆ กว่า 80 สาขา จำนวน 4,825 คน ใน 9 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต , หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต , หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต , หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต , หลักสูตรบัญชีบัณฑิต , เศรษฐศาสตรบัณฑิต , หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต , หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต

ทั้งนี้ คำว่า “นักศึกษาปริญญาตรี ภาคปกติ” หมายความว่านักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดให้เรียนในเวลาราชการหรือหากมีความจำเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่อาจจัดให้เรียนนอกเวลาราชการด้วยก็ได้

การรับเข้าเป็นนักศึกษาผู้เข้าศึกษาต้องคุณสมบัติ ดังนี้ หลักสูตรปริญญาตรี (4 ปี หรือ 5 ปี) จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบเท่า หรือระดับอนุปริญญา (3 ปี ) หรือเทียบเท่า ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของทบวงมหาวิทยาลัย หรือตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอนุปริญญา พ.ศ.2548

หลักสูตรบัณฑิตพันธุ์ใหม่

ระดับปริญญาตรี ภาคพิเศษ

        มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เปิดรับผู้สนใจเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ภาคพิเศษ ซึ่งแบ่งออกเป็น วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 18.00 - 21.00 น. และวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 08.00 - 18.00 น. ซึ่งมหาวิทยาลัยมีแผนการรับนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในสาขาวิชาต่างๆ กว่า 80 สาขา จำนวน 5,140 คน ใน 9 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต , หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต , หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต , หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต , หลักสูตรบัญชีบัณฑิต , เศรษฐศาสตรบัณฑิต , หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต , หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต

ทั้งนี้ คำว่า “นักศึกษาภาคพิเศษ” หมายความว่านักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่จัดให้เรียนในวันหยุดราชการหรือนอกเวลาราชการ หากมีความจำเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่อาจจัดให้เรียนในเวลาราชการด้วยก็ได้

การรับเข้าเป็นนักศึกษา ผู้เข้าศึกษาต้องคุณสมบัติ ดังนี้ หลักสูตรปริญญาตรี (4 ปี หรือ 5 ปี) จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบเท่า หรือระดับอนุปริญญา (3 ปี ) หรือเทียบเท่า ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของทบวงมหาวิทยาลัย หรือตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอนุปริญญา พ.ศ.2548

โครงการฝึกอบรมระยะสั้น

bottom of page